วันครีษมายัน
(summer solstice) หรือ ครีษมายัน / อุตตรายัน ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์นั้นขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด และตกที่ทิศตะวันตกซึ่งเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ทำให้ช่วงกลางวันนั้นยาวนานกว่าปกติในรอบปี ส่วนประเทศที่อยู่แถบซีกโลกเหนือนั้น เป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนทางซีกโลกใต้นั้นจะเป็นช่วงกลางวันที่สั้นที่สุดในรอบปี เป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
ดารที่ดวงอาทิตย์นั้นโคจรไปยังจุด (Solstice) คือ เป็นจุดที่สุดทางเหนือ ในวันที่ 20 มิถุนายน และวันที่ 21 มิถุนายน ซึ่งเป็นจุดฤดูร้อน จึงทำให้เวลาในกลางวันนั้นยาวนานกว่ากลางคืน และเวลากลางวันจะยาวนานที่สุดในรอบปีของประเทศทางซีกโลกเหนือ ส่วนในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่บนท้องฟ้านานเกือบ 13 ชั่วโมง
ซึ่งด้านความเชื่อใน วันครีษมายัน นั้นจะแตกต่างกันไปตามประเพณีทั่วโลก ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้
วันเหมายัน เป็นวันที่ ชาวเมืองยวี่หลินในเขตการปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ของจีน ซึ่งจะเฉลิมฉลองตามประเพณีจะรับประทานเนื้อสุนัข เพราะเป็นที่เริ่มจ้นของฤดูร้อนของเดือนมิถุนายน หรอวัน ครีษมายันนั่นเอง
อีกหนึ่งประเทศที่ตั้งอยู่เส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือพอดี คือประเทศไต้หวัน เป็นประเทศที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงตกลงมายังพื้นในลักษณะมุมฉากพอดี เป็นเป็นความนิยมของการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความเชื่อทางด้านศาสตร์ และไต้หวันนั้นยังมีการโปรโมทเทศกาล Summer Solstice อย่างครึกครื้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ชอบทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อนั้นหลั่งไหลเข้ามา
อีกหนึ่งประเทศที่ได้รับความนิยมคือที่ประเทศอังกฤษ สถานที่คือ กองหินสโตนจ์เฮ้นท์ (Stonehenge) จะมีผู้คนจำนวนมากแห่ไปรับพลังของสุริยะเทพ เพราะคนเหล่านั้นมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยยุคชาวดรูอิทโบราณ